พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระหูยาน พิมพ์ก...
พระหูยาน พิมพ์กลาง อกกากบาท กรุใหม่
พระกรุต่างๆ ของ จ.ลพบุรี หรือเมืองละโว้ ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังจากอดีตมาจนถึงทุกวันนี้ มีหลายกรุหลายพิมพ์ และสุดยอดแห่งจักรพรรดิ พระพิมพ์นั่งของเมืองละโว้ ที่ทุกคนยอมรับก็คือ พระหูยาน ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีพระเนื้อชินยอดขุนพล ที่มีเรื่องเล่าขานในประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพิมพ์นี้ ด้วยเอกลักษณ์ความอลังการในเรื่องพิมพ์ทรงแห่งพุทธศิลป์อันเป็นอมตะของพระ พิมพ์นี้

พระหูยาน แตกกรุตั้งแต่ปี ๒๔๕๐ ที่พระปรางค์องค์ใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บริเวณเดียวกันกับที่ขุดพบ พระร่วงยืนหลังลายผ้า

พระหูยาน ที่ขุดพบนี้เรียกกันว่า พระกรุเก่า ต่อมาได้มีการขุดพบอีกหลายครั้ง โดยครั้งหลังสุดขุดพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ณ บริเวณเจดีย์ราย หน้าพระปรางค์ เรียกว่า พระกรุใหม่

อย่างไรก็ตาม พระหูยาน ทั้ง ๒ กรุนี้ล้วนเป็น พระพิมพ์เดียวกันทั้งหมด มีรายละเอียดเหมือนกันทุกประการ ต่างกันที่เวลาที่ขุดพบจากกรุ จากการขุดพบครั้งแรก ถึงกรุสุดท้าย ห่างกันถึง ๕๘ ปี

และจากการขุดพบต่างเวลากัน ทำให้สภาพผิวองค์พระ มีความแตกต่างกันด้วย
พระกรุเก่า สีผิวพระจะออกดำ และมีคราบกรุพร้อมดินขี้กรุที่หนาปกคลุมอยู่ สภาพโดยรวมแล้วบ่งบอกได้ถึงความเก่ามีอายุ

ส่วน พระกรุใหม่ มีคราบปรอทสีขาวกว่า ครอบคลุมทั่วองค์พระ ทั้งหน้าหลัง แลดูเหมือนมีอายุการสร้างไม่กี่สิบปี แต่ความเป็นจริง เป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน อายุความเก่าก็เท่ากัน ความแตกต่างของเนื้อหาก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมภายในกรุที่ต่างกัน

พระกรุเก่า ที่ตั้งของกรุอยู่ภายใต้ดิน ในที่ต่ำกว่า ภาชนะที่ใช้บรรจุพระก็ชำรุดเสียหาย ด้วยเหตุนี้องค์พระจึงสัมผัสอุณหภูมิ และความชื้นต่างๆ ได้มาก สภาพผิวของพระจึงมีการแปรเปลี่ยนไปจากสภาพเดิมมากกว่า

ส่วน พระกรุใหม่ พบว่าบรรจุอยู่ในภายในพระเจดีย์ ภาชนะที่บรรจุพระยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ชำรุดเสียหาย องค์พระจึงสัมผัสกับการแปรเปลี่ยนของสภาพและอุณหภูมิน้อย เนื้อพระจึงมีความสมบูรณ์เหมือนเดิมๆ ความแตกต่างผิวเนื้อพระจึงมีน้อย

พุทธลักษณะ พระหูยานทั้ง ๒ กรุนี้ สร้างด้วยเนื้อชินเงิน อายุการสร้างมากกว่า ๘๐๐ ปี มีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์บัวสองชั้นรัศมีแฉก ส่วนพิมพ์จิ๋ว มีน้อยมาก ขึ้นจากเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น

พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ กรุใหม่ เป็นปฏิมากรรมศิลปะลพบุรียุคต้น เป็นฝีมือช่างหลวง ที่ได้ถ่ายทอดจินตนาการลงบนองค์พระอย่างละเอียดประณีต วิจิตรบรรจง ด้วยความอลังการสวยงามยิ่ง

องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัวเล็บช้างห้ากลีบ เหนือดอกบัวมีเม็ดไข่ปลาเรียงจุดเป็นแถวยาว ๑๔ จุด พระพักตร์ได้รับอิทธิพลมาจาก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่ ปราสาทบายน ในเมืองเขมร มีการเรียกขานกันหลายชื่อ ทั้ง หน้ายักษ์ และ หน้านิยม

ใบหน้าจะแลดูเคร่งขรึม ถมึนทึง ปรากฏรอยยิ้มเล็กน้อย ที่เรียกกันว่า "ยิ้มแบบบายน”
มีไรพระศกเป็นเส้นนูนเว้าโค้งตามรูปหน้า และไม่เชื่อมต่อกับเส้นเกศา มีลักษณะเกศาเป็นเส้นๆ แนวตั้งชัดเจน โดยมีระยะห่างกันพอประมาณ

ปลายพระเกศเป็นแบบฝา พระเนตรมีลักษณะเรียวแหลม ดุจดั่งเม็ดข้าวสารอยู่ในเปลือกตา เป็นเส้นนูนสวยงาม

พระขนง (คิ้ว) ทั้งสอง โค้งแบบปีกกา เป็นเส้นนูนเชื่อมต่อกันทั้งเส้น ลำตัวและท่อนแขนแสดงถึงความบึกบึน เข้มขลัง เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นคู่ขนานจากหัวไหล่ซ้าย มาสิ้นสุดบริเวณเหนือพระอุทร (หน้าท้อง) ขนาดองค์พระกว้าง ๒.๗ ซม. สูง ๕.๕ ซม.

ตำหนิที่สังเกตได้บริเวณแก้มองค์พระซ้ายมือ มีเส้นนูนแตกยาวเล็กๆ พาดจากเปลือกตาซ้าย ยาวลงมาถึงมุมปากซ้ายด้านล่าง เข้าใจว่าเกิดจากบล็อกแม่พิมพ์ชำรุด เกิดเส้นนูนรอยแตกเป็นตำหนิขึ้นมา สามารถจดจำเป็นจุดตายในการพิจารณาพระได้ดีจุดหนึ่ง

พระพิมพ์ใหญ่ องค์ในภาพ มีคราบไขปรอทขาว ออกสีเหลืองทอง ปกคลุมองค์พระบางๆ แลดูแวววับ มีประกายสวยงาม ศัพท์ในวงการพระเรียกว่า คราบปรอทน้ำทอง จะมีปรากฏไม่เสมอไป มีเป็นกรณีพิเศษเพียงบางองค์เท่านั้น

ส่วนพระหูยาน พิมพ์กลาง พระพักตร์มีความแตกต่างจากพิมพ์ใหญ่ ลักษณะใบหน้าจะก้มหน้าเล็กน้อย และลดความเข้มขรึมดุดันลง

เส้นเกศาระยะห่างจะเบียดแคบ และชิดกว่า บริเวณหน้าอกด้านขวามือองค์พระ จะปรากฏเส้นพิมพ์แตกขวางอยู่ ลักษณะคล้ายกากบาท จึงตั้งชื่อพิมพ์ตามลักษณะนี้ว่า “พิมพ์กลาง อกกากบาท”

เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมาก รองจากพิมพ์ใหญ่ ปกติขนาดองค์พระมีขนาดย่อมกว่าพิมพ์ใหญ่ ทั้งส่วนสูงและความกว้างเล็กน้อย แต่พระพิมพ์กลางองค์ในภาพนี้มีความสูงกว่า เพราะมีเนื้อเกินปลายแหลมยอดด้านบน ตอนเทเดิมติดมา ไม่ได้ตัดออก มีขนาดกว้าง ๒.๕ ซม. สูง ๕.๘ ซม.

พระหูยาน พิมพ์เล็ก พระพักตร์มีลักษณะยาว เรียวเล็ก ความคมชัดของพระพักตร์ปานกลาง อยู่ในลักษณะก้มลงเล็กน้อย ไรพระศกมีลักษณะเป็นปื้น รวมกับเส้นเกศา แลดูเป็นเนื้อนูนๆ เท่านั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดของเส้นเกศา พระหูยาน ทั้ง ๒ พิมพ์ที่กล่าวมาแล้ว ยอดขมวดมวยผมองค์พระด้านบน รวมกับเนื้อพระที่มีเหลือเกินตอนเทหล่อส่วนบน มีลักษณะแหลมยาวขึ้นไปด้านบน ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์เล็กว่า พระหูยาน พิมพ์เศียรแหลม

เนื้อหาพระพิมพ์เล็กองค์ในภาพนี้ มีคราบไขปรอทขาว ออกเขียวเข้มอมทอง ปกคลุมเต็มผิวองค์พระ คราบปรอทสีอมเขียว ลักษณะแบบนี้ มีเป็นเพียงบางองค์เท่านั้น ทำให้องค์พระแลดูคลาสสิก สวยงาม มีค่านิยมยิ่งขึ้นไปอีกแบบ องค์พระมีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา กว้างประมาณ ๒.๒ ซม. สูง ๕.๒ ซม.

ด้านหลังองค์พระทั้ง ๓ พิมพ์นี้ มีลักษณะแอ่นเว้าเข้าด้านในเล็กน้อย และมีลายผ้าปรากฏอย่างชัดเจน สวยงาม

ราคาเช่าหา พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์ใหญ่ สภาพทั่วไปเช่าบูชากันที่ ๒-๓ แสนบาทขึ้นไป ถ้าสภาพสวยงามคมชัด คราบปรอทขาวน้ำทองวาววับ ราคาอยู่ที่หลักแสนกลางขึ้นไปถึงหลักแสนปลาย

พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์กลาง สภาพปานกลางราคาอยู่ที่หลักแสนต้น ถึงหลักแสนปลาย ถ้าสภาพสวยแชมป์ มีเงิน ๓ แสนกว่ายังหาของไม่ค่อยพบ

ส่วน พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์เล็ก สภาพปานกลางอยู่ที่หลักหมื่นปลาย ถึงหลักแสนต้น สภาพสวยสมบูรณ์ อยู่ที่หลักแสนต้น ถึงหลักแสนกลาง อยู่ในราคาที่เหมาะสมสำหรับนักสะสมเนื้อชินเงิน ที่ชอบพระตระกูลหูยาน เช่าหาพิมพ์เล็กไว้ใช้บูชาขึ้นคอ ในราคาเบาๆ แทนพิมพ์ใหญ่ได้ สบายใจในพระพุทธคุณ

พระหูยาน กรุใหม่ ส่วนใหญ่มีความงดงามอลังการและคมชัดกว่าพระกรุเก่า แต่ในด้านพุทธคุณเหมือนๆ กัน คือ เป็นพระเครื่องประเภทแคล้วคลาด ปลอดภัย คงกระพันชาตรี และดีเยี่ยมด้านมหาอุดหยุดได้ ซึ่งมีประสบการณ์มาแล้วอย่างโชกโชน ชนิดที่เชื่อถือได้ทุกประการ


ที่มา : http://marketamulet.blogspot.com/2010/11/blog-post_25.html
ผู้เข้าชม
4458 ครั้ง
ราคา
10000
สถานะ
ยังอยู่
ชื่อร้าน
พระคุ้มครอง ป้องกันภัย
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
prakumkrong
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 930-2-31589-6

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ว.ศิลป์สยามkaew กจ.vanglannaponsrithong2ponsrithongยุ้ย พลานุภาพ
เทพจิระศักดา พระเครื่องsomphopTUI789mosnarokมนต์เมืองจันท์
TotoTatoเจริญสุขพีพีพระสมเด็จnatthanetLeksoi8อ้วนโนนสูง
ภูมิ IRหมี คุณพระช่วยNithipornแมวดำ99ErawanPutput
tangmoอาร์ตกำแพงเพชรจิ๊บพุทธะมงคลศิษย์บูรพาเปียโนjazzsiam amulet

ผู้เข้าชมขณะนี้ 746 คน

เพิ่มข้อมูล

พระหูยาน พิมพ์กลาง อกกากบาท กรุใหม่



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระหูยาน พิมพ์กลาง อกกากบาท กรุใหม่
รายละเอียด
พระกรุต่างๆ ของ จ.ลพบุรี หรือเมืองละโว้ ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังจากอดีตมาจนถึงทุกวันนี้ มีหลายกรุหลายพิมพ์ และสุดยอดแห่งจักรพรรดิ พระพิมพ์นั่งของเมืองละโว้ ที่ทุกคนยอมรับก็คือ พระหูยาน ซึ่งเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีพระเนื้อชินยอดขุนพล ที่มีเรื่องเล่าขานในประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพิมพ์นี้ ด้วยเอกลักษณ์ความอลังการในเรื่องพิมพ์ทรงแห่งพุทธศิลป์อันเป็นอมตะของพระ พิมพ์นี้

พระหูยาน แตกกรุตั้งแต่ปี ๒๔๕๐ ที่พระปรางค์องค์ใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ บริเวณเดียวกันกับที่ขุดพบ พระร่วงยืนหลังลายผ้า

พระหูยาน ที่ขุดพบนี้เรียกกันว่า พระกรุเก่า ต่อมาได้มีการขุดพบอีกหลายครั้ง โดยครั้งหลังสุดขุดพบเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ณ บริเวณเจดีย์ราย หน้าพระปรางค์ เรียกว่า พระกรุใหม่

อย่างไรก็ตาม พระหูยาน ทั้ง ๒ กรุนี้ล้วนเป็น พระพิมพ์เดียวกันทั้งหมด มีรายละเอียดเหมือนกันทุกประการ ต่างกันที่เวลาที่ขุดพบจากกรุ จากการขุดพบครั้งแรก ถึงกรุสุดท้าย ห่างกันถึง ๕๘ ปี

และจากการขุดพบต่างเวลากัน ทำให้สภาพผิวองค์พระ มีความแตกต่างกันด้วย
พระกรุเก่า สีผิวพระจะออกดำ และมีคราบกรุพร้อมดินขี้กรุที่หนาปกคลุมอยู่ สภาพโดยรวมแล้วบ่งบอกได้ถึงความเก่ามีอายุ

ส่วน พระกรุใหม่ มีคราบปรอทสีขาวกว่า ครอบคลุมทั่วองค์พระ ทั้งหน้าหลัง แลดูเหมือนมีอายุการสร้างไม่กี่สิบปี แต่ความเป็นจริง เป็นพระที่สร้างในยุคเดียวกัน อายุความเก่าก็เท่ากัน ความแตกต่างของเนื้อหาก็เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมภายในกรุที่ต่างกัน

พระกรุเก่า ที่ตั้งของกรุอยู่ภายใต้ดิน ในที่ต่ำกว่า ภาชนะที่ใช้บรรจุพระก็ชำรุดเสียหาย ด้วยเหตุนี้องค์พระจึงสัมผัสอุณหภูมิ และความชื้นต่างๆ ได้มาก สภาพผิวของพระจึงมีการแปรเปลี่ยนไปจากสภาพเดิมมากกว่า

ส่วน พระกรุใหม่ พบว่าบรรจุอยู่ในภายในพระเจดีย์ ภาชนะที่บรรจุพระยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ชำรุดเสียหาย องค์พระจึงสัมผัสกับการแปรเปลี่ยนของสภาพและอุณหภูมิน้อย เนื้อพระจึงมีความสมบูรณ์เหมือนเดิมๆ ความแตกต่างผิวเนื้อพระจึงมีน้อย

พุทธลักษณะ พระหูยานทั้ง ๒ กรุนี้ สร้างด้วยเนื้อชินเงิน อายุการสร้างมากกว่า ๘๐๐ ปี มีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์บัวสองชั้น พิมพ์บัวสองชั้นรัศมีแฉก ส่วนพิมพ์จิ๋ว มีน้อยมาก ขึ้นจากเพียงไม่กี่องค์เท่านั้น

พระหูยาน พิมพ์ใหญ่ กรุใหม่ เป็นปฏิมากรรมศิลปะลพบุรียุคต้น เป็นฝีมือช่างหลวง ที่ได้ถ่ายทอดจินตนาการลงบนองค์พระอย่างละเอียดประณีต วิจิตรบรรจง ด้วยความอลังการสวยงามยิ่ง

องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัย บนฐานบัวเล็บช้างห้ากลีบ เหนือดอกบัวมีเม็ดไข่ปลาเรียงจุดเป็นแถวยาว ๑๔ จุด พระพักตร์ได้รับอิทธิพลมาจาก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ที่ ปราสาทบายน ในเมืองเขมร มีการเรียกขานกันหลายชื่อ ทั้ง หน้ายักษ์ และ หน้านิยม

ใบหน้าจะแลดูเคร่งขรึม ถมึนทึง ปรากฏรอยยิ้มเล็กน้อย ที่เรียกกันว่า "ยิ้มแบบบายน”
มีไรพระศกเป็นเส้นนูนเว้าโค้งตามรูปหน้า และไม่เชื่อมต่อกับเส้นเกศา มีลักษณะเกศาเป็นเส้นๆ แนวตั้งชัดเจน โดยมีระยะห่างกันพอประมาณ

ปลายพระเกศเป็นแบบฝา พระเนตรมีลักษณะเรียวแหลม ดุจดั่งเม็ดข้าวสารอยู่ในเปลือกตา เป็นเส้นนูนสวยงาม

พระขนง (คิ้ว) ทั้งสอง โค้งแบบปีกกา เป็นเส้นนูนเชื่อมต่อกันทั้งเส้น ลำตัวและท่อนแขนแสดงถึงความบึกบึน เข้มขลัง เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นคู่ขนานจากหัวไหล่ซ้าย มาสิ้นสุดบริเวณเหนือพระอุทร (หน้าท้อง) ขนาดองค์พระกว้าง ๒.๗ ซม. สูง ๕.๕ ซม.

ตำหนิที่สังเกตได้บริเวณแก้มองค์พระซ้ายมือ มีเส้นนูนแตกยาวเล็กๆ พาดจากเปลือกตาซ้าย ยาวลงมาถึงมุมปากซ้ายด้านล่าง เข้าใจว่าเกิดจากบล็อกแม่พิมพ์ชำรุด เกิดเส้นนูนรอยแตกเป็นตำหนิขึ้นมา สามารถจดจำเป็นจุดตายในการพิจารณาพระได้ดีจุดหนึ่ง

พระพิมพ์ใหญ่ องค์ในภาพ มีคราบไขปรอทขาว ออกสีเหลืองทอง ปกคลุมองค์พระบางๆ แลดูแวววับ มีประกายสวยงาม ศัพท์ในวงการพระเรียกว่า คราบปรอทน้ำทอง จะมีปรากฏไม่เสมอไป มีเป็นกรณีพิเศษเพียงบางองค์เท่านั้น

ส่วนพระหูยาน พิมพ์กลาง พระพักตร์มีความแตกต่างจากพิมพ์ใหญ่ ลักษณะใบหน้าจะก้มหน้าเล็กน้อย และลดความเข้มขรึมดุดันลง

เส้นเกศาระยะห่างจะเบียดแคบ และชิดกว่า บริเวณหน้าอกด้านขวามือองค์พระ จะปรากฏเส้นพิมพ์แตกขวางอยู่ ลักษณะคล้ายกากบาท จึงตั้งชื่อพิมพ์ตามลักษณะนี้ว่า “พิมพ์กลาง อกกากบาท”

เป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมาก รองจากพิมพ์ใหญ่ ปกติขนาดองค์พระมีขนาดย่อมกว่าพิมพ์ใหญ่ ทั้งส่วนสูงและความกว้างเล็กน้อย แต่พระพิมพ์กลางองค์ในภาพนี้มีความสูงกว่า เพราะมีเนื้อเกินปลายแหลมยอดด้านบน ตอนเทเดิมติดมา ไม่ได้ตัดออก มีขนาดกว้าง ๒.๕ ซม. สูง ๕.๘ ซม.

พระหูยาน พิมพ์เล็ก พระพักตร์มีลักษณะยาว เรียวเล็ก ความคมชัดของพระพักตร์ปานกลาง อยู่ในลักษณะก้มลงเล็กน้อย ไรพระศกมีลักษณะเป็นปื้น รวมกับเส้นเกศา แลดูเป็นเนื้อนูนๆ เท่านั้น ไม่ปรากฏรายละเอียดของเส้นเกศา พระหูยาน ทั้ง ๒ พิมพ์ที่กล่าวมาแล้ว ยอดขมวดมวยผมองค์พระด้านบน รวมกับเนื้อพระที่มีเหลือเกินตอนเทหล่อส่วนบน มีลักษณะแหลมยาวขึ้นไปด้านบน ลักษณะเช่นนี้จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์เล็กว่า พระหูยาน พิมพ์เศียรแหลม

เนื้อหาพระพิมพ์เล็กองค์ในภาพนี้ มีคราบไขปรอทขาว ออกเขียวเข้มอมทอง ปกคลุมเต็มผิวองค์พระ คราบปรอทสีอมเขียว ลักษณะแบบนี้ มีเป็นเพียงบางองค์เท่านั้น ทำให้องค์พระแลดูคลาสสิก สวยงาม มีค่านิยมยิ่งขึ้นไปอีกแบบ องค์พระมีขนาดเล็กกะทัดรัด น้ำหนักเบา กว้างประมาณ ๒.๒ ซม. สูง ๕.๒ ซม.

ด้านหลังองค์พระทั้ง ๓ พิมพ์นี้ มีลักษณะแอ่นเว้าเข้าด้านในเล็กน้อย และมีลายผ้าปรากฏอย่างชัดเจน สวยงาม

ราคาเช่าหา พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์ใหญ่ สภาพทั่วไปเช่าบูชากันที่ ๒-๓ แสนบาทขึ้นไป ถ้าสภาพสวยงามคมชัด คราบปรอทขาวน้ำทองวาววับ ราคาอยู่ที่หลักแสนกลางขึ้นไปถึงหลักแสนปลาย

พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์กลาง สภาพปานกลางราคาอยู่ที่หลักแสนต้น ถึงหลักแสนปลาย ถ้าสภาพสวยแชมป์ มีเงิน ๓ แสนกว่ายังหาของไม่ค่อยพบ

ส่วน พระหูยาน กรุใหม่ พิมพ์เล็ก สภาพปานกลางอยู่ที่หลักหมื่นปลาย ถึงหลักแสนต้น สภาพสวยสมบูรณ์ อยู่ที่หลักแสนต้น ถึงหลักแสนกลาง อยู่ในราคาที่เหมาะสมสำหรับนักสะสมเนื้อชินเงิน ที่ชอบพระตระกูลหูยาน เช่าหาพิมพ์เล็กไว้ใช้บูชาขึ้นคอ ในราคาเบาๆ แทนพิมพ์ใหญ่ได้ สบายใจในพระพุทธคุณ

พระหูยาน กรุใหม่ ส่วนใหญ่มีความงดงามอลังการและคมชัดกว่าพระกรุเก่า แต่ในด้านพุทธคุณเหมือนๆ กัน คือ เป็นพระเครื่องประเภทแคล้วคลาด ปลอดภัย คงกระพันชาตรี และดีเยี่ยมด้านมหาอุดหยุดได้ ซึ่งมีประสบการณ์มาแล้วอย่างโชกโชน ชนิดที่เชื่อถือได้ทุกประการ


ที่มา : http://marketamulet.blogspot.com/2010/11/blog-post_25.html
ราคาปัจจุบัน
10000
จำนวนผู้เข้าชม
4459 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
พระคุ้มครอง ป้องกันภัย
URL
เบอร์โทรศัพท์
0980377295
ID LINE
prakumkrong
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 930-2-31589-6




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี